Cell Broadcast เทคโนโลยีเตือนภัยที่เป็นมากกว่าระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหว

Cell Broadcast เทคโนโลยีเตือนภัยที่เป็นมากกว่าระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหว

โดย ดร.กฤษฎา แก้ววัดปริง

ที่ปรึกษาสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยที่สร้างความเสียหายหนักครั้งใหญ่ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เผยให้เห็นความล้มเหลวของระบบเตือนภัย เนื่องจากไม่มีการแจ้งเตือนผ่านระบบ Cell Broadcast แก่ประชาชนเลย

เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบ Cell Broadcast ให้มีประสิทธิภาพ เพราะน้อยคนจะทราบว่าเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพและประโยชน์มากกว่าที่เราคิด

Cell Broadcast คืออะไร และทำงานอย่างไร

Cell Broadcast เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่ออกแบบมาเพื่อส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในพื้นที่เป้าหมาย โดยไม่จำเป็นต้องทราบเบอร์โทรศัพท์หรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ เทคโนโลยีนี้ทำงานผ่านเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Towers) จึงสามารถส่งข้อความพร้อมกันในวงกว้างได้ภายในไม่กี่วินาที แม้ในสถานการณ์ที่เครือข่ายโทรศัพท์อาจมีการใช้งานหนาแน่น

ความพิเศษของ Cell Broadcast อยู่ที่การทำงานแบบ One-to-Many คือสามารถส่งข้อความเดียวไปถึงผู้ใช้จำนวนมากพร้อมกัน ต่างจากการส่ง SMS ทั่วไปที่เป็นแบบ One-to-One ทำให้ไม่เกิดความล่าช้าหรือคอขวดในการส่งข้อความ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำคัญในสถานการณ์ฉุกเฉิน

มากกว่าการเตือนแผ่นดินไหว ประโยชน์ของ Cell Broadcast ในบริบทเมืองอัจฉริยะ

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสมาร์ทซิตี้ ผมมองว่า Cell Broadcast มีศักยภาพในการเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย โดยสามารถขยายขอบเขตการใช้งานได้หลากหลาย

1. การเตือนภัยพิบัติทุกประเภท

นอกเหนือจากแผ่นดินไหว ระบบนี้สามารถใช้แจ้งเตือนภัยพิบัติอื่นๆ เช่น

– อุทกภัยฉับพลัน

– พายุรุนแรง

– ดินโคลนถล่ม

– ไฟป่า

– สึนามิ

– การรั่วไหลของสารเคมีอันตราย

การแจ้งเตือนที่รวดเร็วและแม่นยำจะช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีนัยสำคัญ

2. การจัดการจราจรและระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)

Cell Broadcast สามารถใช้แจ้งเตือนอุบัติเหตุหรือการปิดถนนฉุกเฉิน ช่วยให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีปัญหา ลดความแออัดและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง ในอนาคตอาจบูรณาการกับระบบขนส่งอัจฉริยะเพื่อให้ข้อมูลทางเลือกการเดินทางแบบ real-time

3. การรักษาความปลอดภัยสาธารณะ (Smart Living)

– แจ้งเตือนกรณีบุคคลสูญหาย เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุหลงทาง

– ประกาศจากเจ้าหน้าที่ในกรณีภัยคุกคามต่อความปลอดภัย

– การแจ้งเตือนเหตุร้ายในพื้นที่สาธารณะ

4. การจัดการสิ่งแวดล้อม (Smart Environment)

– แจ้งเตือนระดับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน

– แจ้งเตือนคุณภาพน้ำหรือการปนเปื้อนในแหล่งน้ำสำคัญ

– การเตือนภัยจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

5. การสื่อสารภาครัฐในภาวะฉุกเฉิน (Smart Governance)

– การประกาศมาตรการฉุกเฉินของรัฐบาล

– การแจ้งข้อมูลด้านสาธารณสุข เช่น กรณีการระบาดของโรคติดต่อ

– การแจ้งการปิดให้บริการหรือเปลี่ยนแปลงการให้บริการสาธารณะอย่างกะทันหัน

ความท้าทายและแนวทางการพัฒนา Cell Broadcast ในประเทศไทย

Scroll to Top